ผู้สมัครงาน
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทต่างๆ จะมีช่วงทดลองงานอยู่ที่ 90 วันหรือ 120 วันตามที่บริษัทระบุ แต่ในข้อกฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องมีช่วงการทดลองงาน เพียงแต่ระบุว่า ถ้าพนักงานทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนตามที่กำหนดให้กับพนักงาน
แล้วแบบนี้ ถ้าไม่ผ่านการทดลองงาน หรือไม่ผ่านโปร จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ JOBBKK.COM มีคำตอบครับ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ระบุเกี่ยวกับเรื่องการสิ้นสุดของสัญญาจ้างแรงงาน กรณีการจ้างงานแบบประจำ ไม่มีการระบุวันสิ้นสุดสัญญาจ้างที่ชัดเจน หรือจ้างงานแบบทดลองงาน (แม้จะบอกว่าทดลองงาน 120 วัน) จะนับว่าเป็นสัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่นกัน ดังนั้น เมื่อไม่มีกำหนดระยะเวลา ก็หมายความว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหรือพนักงานบอกเลิกสัญญา โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายรับทราบก่อนเป็นเวลา 1 เดือนก่อนที่เงินเดือนจะออกในรอบต่อไป
หากไม่มีการบอกล่วงหน้า กฎหมายระบุว่า ต้องมีการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนงวดสุดท้ายพร้อมค่าตกใจ แต่จำนวนเงินที่เป็นค่าตกใจนี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัท เช่น เงินเดือนของพนักงานเท่ากับ 15,000 บาท เมื่อพนักงานทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่แจ้งล่วงหน้าก่อน 1 เดือน จำนวนเงินทั้งหมดที่บริษัทต้องจ่ายคือ เงินเดือนงวดสุดท้ายเท่ากับ 15,000 บาท เงินชดเชย 15,000 บาท และค่าตกใจ (ตามที่บริษัทกำหนด)
แต่ถ้าบริษัทบอกล่วงหน้าก่อน 1 เดือน ว่าไม่ผ่านการทดลองงาน หรือไม่ผ่านโปร และให้ทำงานต่อจนครบสัญญาหรือครบ 120 วัน จึงพ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือค่าตกใจใดๆให้กับพนักงาน เพราะมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนที่จะหมดสัญญาแล้วนั่นเอง
เมื่อได้รับโอกาสในการเข้ามาทำงานที่ต้องการ แล้ว คุณคงไม่อยากต้องมานั่งหางานใหม่ใน3 หรือ 4 เดือนข้างหน้าอีกแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมในการสร้างงานที่มีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะพาบริษัทก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง บริษัทย่อมเห็นความตั้งใจและต้องการตัวคุณอยู่แล้ว แต่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใดๆ คุณก็ต้องคอยติดตามและเจรจากับทางบริษัทล่วงหน้าให้เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะถึงกำหนดในสัญญาที่ระบุไว้จะดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูล : www.decha.com
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด